16.1.54

เบาหวาน



สรรพคุณของ คาวตอง
รักษาโรคมะเร็ง โดยเฉพาะเกี่ยวกับมะเร็งปอด มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งปากมดลูก
- เนื้องอกในสมอง
- ริดสีดวงทวาร โดยไม่ต้องผ่าตัด
- โรคกามโรค
- โรคผิวหนัง
- ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- เพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาว รักษาอาการอักเสบต่าง ๆ เช่น ฝีอักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ตาอักเสบ ตับอักเสบ ไตอักเสบ
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อรา หูชั้นกลางอักเสบ

ฤทธิ์ของสารจิปพีโนไซด์ในปัญจขันธ์ หรือสารสกัดปัญจขันธ์
ต้านอนุมูลอิสระ
ลดระดับไขมันในเลือด
เสริมภูมิคุ้มกัน
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด
ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
ต้านอักเสบ
ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีการพบสารซาโพนิน ชื่อฟาโนไซด์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูที่เดจากการกระตุ้นด้วยการให้แอลกอฮอล์กับกรดเกลือหรือจากยาต้านอักเสบอินโดเมทาซิน หรือจากการกระตุ้นให้หนูเกิดความเครียด
กระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์จากเซลล์ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ป้องกันการเกิดพิษต่อตับของสารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล คาร์บอนเตตราคลอไรด์
สำหรับการวิจัยทางคลินิกนั้น จีนจึงได้ศึกษาวิจัยประสิทธิผลของปัยจขันธ์ต่อระบบภูมิค้มกันในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัดและได้รับเคมีบำบัดรวมทั้งฉายแสง พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้มปัญจขันธ์ ขนาด ๓๐ กรัม/วัน นาน ๓ สัปดาห์ มีการแบ่งตัวของลิมโฟไซต์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับสมุนไพรกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกชนิดหนึ่ง คือ ราก Radix Astragaliseu Hedysai (Huangqi)

นอกจากนี้ จากการวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัด พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับปัญจขันธ์มีการพยากรณ์โรคดีกว่า คือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งช้ากว่า และมีอายุยืนกว่า

ในประเทศญี่ปุ่นและจีน ได้จดสิทธิบัตรของสารสกัดปัญจขันธ์เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ เครื่องสำอางบำรุงผิว ผม หนังศรีษะ ผลิตภัณฑ์กระตุ้นการเจริญของผม เครื่องดื่มหรือชาสมุนไพร อาหารสุขภาพ ยาทาลดความอ้วนอาหารช่วยลดไขมันในเลือด สารสกัดช่วยกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ และสารจิปพีโนไซด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิด เป็นต้น

สำหรับประเทศไทยในส่วนของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีโครงการความร่วมมือกับประเทศจีน ในการนำสมุนไพรจีนมาทดลองปลูกในประเทศ ผลการศึกษาในเบื้องต้นพบว่าปัญจขันธ์สายพันธ์ของจีนมีสารสำคัญสูงกว่าสายพันธุ์ของไทย ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ที่พบว่าพันธุ์จากจีนมีสารสำคัญมากกว่าพันธุ์โครงการหลวงอ่างขาง ซึ่งจะได้มีการขยายพันธุ์ต่อไป

สำหรับสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรปัญจขันธ์พันธุ์ของไทยทางพฤกษเคมีเพื่อพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์คุณภาพ และศึกษาพบว่าปัญจขันธ์มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และได้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดด้วยน้ำของปัญจขันธ์ในขนาด ๖, ๓๐, ๑๕๐ และ ๗๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในหนูขาว ๖ เดือนแล้ว พบว่ามีความปลอดภัย ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยในผู้ติดเชื้อ HIV

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยสมุนไพรได้ร่วมมือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ในการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกปัญจขันธ์แบบอินทรีย์ในพื้นที่สวนป่าสันกำแพง และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร รวมทั้งศึกษาวิจัยร่วมกันถึงวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยวและการขยายพันธุ์

กรมวิทยาศาตร์การแพทย์ยังได้รับงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันและพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (งบยากจน) จำนวน ๑.๔ ล้านบาท ซึ่งได้นำไปใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายปลูกปัญจขันธ์ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาสมุนไพรปัญจขันธ์ต่อไป

ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๔ กันยายน ๓๕๔๘ ณ ฮอลล์ ๗ - ๘ อิมแพค เมืองทองธานี กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะได้เพาะปัญจขันธ์จำหน่ายแก่ประชาชนในราคาย่อมเยาว์และแนะนำวิธีการปลูก เพื่อส่งเสริมการปลูกและบริโภคปัญจขันธ์ในครัวเรือนรวมทั้งมีการนำเสนองานวิจัยการปลูกปัญจขันพันธุ์จีนในภาคเหนือและผลการศึกาาวิจัยฤทธื ลดน้ำตาลในเลือดและฤทธ์ต้านอักเสบของปัญจขันธ์ในสัตว์ทดลองด้วย

[ที่มา.. นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๘]

เห็ดหลินจือ (Lingzhi) เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine ) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้ เป็นต้นมา เห็ดหลินจือ เป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” ( Spiritual essence ) มีพลังมหัศจรรย์ บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้น ว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย

กว่า 2000 ปีมาแล้ว ชาวจีนเชื่อกันว่าเห็ดหลินจือ เป็นพืชสมุนไพรที่มี คุณสมบัติดีเลิศ ทฤษฎีทางการแพทย์แผนจีนโบราณ เชื่อว่าเห็ดหลินจือ มีคุณสมบัติที่เป็นหนึ่ง ในด้านการเสริมสร้างสุขภาพ เพิ่มศักภาพในการ รักษาโรค ช่วยให้มีอายุยืนยาว และไม่เป็นสาเหตุ หรือ มีผลกระทบต่อ- การทำงานของร่างกาย แม้จะรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน

ในสมัยโบราณ กล่าวกันว่า เห็ดหลินจือทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ใช้บำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้มีกำลัง ทำให้ความจำดีขึ้น ทำให้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ ชัดเจนดีขึ้น ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสีหน้าแจ่มใส ชะลอความแก่ ส่วนสรรพคุณอื่นๆที่ได้รวบรวมไว้ได้แก่ รักษาและต้าน มะเร็ง รักษาโรคตับ ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิตทั้งสูงและต่ำ ภาวะมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาท ลมบ้าหมู เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ ปวดเมื่อย ปวดข้อ โรคเก๊าท์ โรคเอสแอลอี เส้นเลือดหัวใจตีบ ตับแข็ง ตับอักเสบ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษ แผลในกระเพาะอาหารและลำใส้ บำรุงสายตา และความเชื่อดังกล่าว ยังคงสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

Dr. Li Shi-Zhen แพทย์แผนจีนที่มีชื่อเสียงที่สุดในราชวงศ์หมิงได้รับประทาน เห็ดหลินจือเป็นเวลานาน ทำให้มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว มีการพิสูจน์โดย ทางการแพทย์สมัยใหม่แล้วว่า เห็ดหลินจือ มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์มากมาย ที่สำคัญได้แก่ ช่วยกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิต, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของเซลล์และกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย (ล้างพิษ) และช่วยให้อวัยวะใน- ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสม (สร้างสมดุลย์)

สถาบันเห็ดหลินจือโลก ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐ- อเมริกา (Ganoderma International Research Institute) ประกอบด้วย สมาชิกหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ จีน ฮ่องกง แคนาดา ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ไทย เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานคุณภาพ และป้องกันไม่ให้ภาพลักษณ์ของ เห็ดหลินจือ สูญเสียไปจากกระบวนการผลิตที่ ไม่ได้คุณภาพ

องค์ประกอบสำคัญที่ค้นพบในเห็ดหลินจือ

ด้วยการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ พบว่าเห็ดหลินจือ มีองค์ประกอบที่สำคัญกว่า 200 ชนิด ซึ่งได้แก่ โพลีซัคคาไลด์ (Poly- sacharide), เจอร์มาเนียม (Germanium), ไตรเทอร์ปินอยด์ (Tri- terpenoid), กาโนเดอริค (Ganoderic Essence),เปปติโตไกลแคน (Peptidoglycan), โปรโตอัลคาลอยด์ (Protoalkaloid), ไฟเบอร (Fiber), และ อื่น ๆ ฯลฯ สารประกอบที่สำคัญได้แก่

1. Polysaccharides ช่วยกระตุ้นหรือสร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันโรค เช่นmacrophage และ T-Cells รวมทั้งเพิ่มระดับเม็ดเลือดขาวในร่างกาย (แอนตี้บอดี้) เพื่อต่อสู้กับเซลล์แปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยทำความสะอาด และล้างพิษออกจากร่างกาย สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรงตามธรรม- ชาติ เปลี่ยนเซลล์ที่ผิดปกติสู่เซลล์ปกติ และเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ร่างกายเพื่อต้านทานเชื้อโรค ดังนั้น จึงเป็น การสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงขึ้น มีการทำสอบในสถาบันวิจัย Drug Research Institute ในเมือง โตยาม่า ประเทศญี่ปุ่น ยืนยันแล้วว่า polysaccharides ในเห็ดหลินจือนี้ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ในประเทศญีปุ่นมี รายงานว่า สารสกัดจากเห็ดหลินจือ ให้ผลในการรักษาผู้ป่วยโรคตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. Triterpenoids เป็นตัวการทำให้เห็ดหลินจือมีรสขมฝาด เนื่องจากคุณสมบัติอันเป็นประโยชน์ ช่วยสร้างเสริม แรงดันโลหิตและเพิ่มเม็ดเลือดTriterpenoids ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ในด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และระบบการไหลเวียนโลหิต และปกป้องร่างกายจากสารพิษทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อมและความเคร่งเครียดในสังคม

3. Adenosine ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต โดยยับยั้งมิให้เกล็ดเลือดรวมตัวกัน การศึกษาก่อนหน้านี้โดยทีม นักวิจัย จากวิทยาลัยปักกิ่ง สาขาการแพทย์จีนแผนโบราณพบว่า เห็ดหลินจือช่วยปรับปรุงการทำงานของเซลล์ เม็ดเลือดแดงในการส่งถ่ายออกซิเจน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติของAdenosine ในเห็ดหลินจือ Adenosine ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล กระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญและสร้างเสริมพลกำลัง และความกระปรี้กระเปร่า


[ที่มา.. เอกสารอ้างอิง หนังสือ เห็ดหลินจือ โดย นพ.สุรพล ประทุมรักษ์ - นพ.ชวลิต สันติรุ่เรือง]